หลายปีที่ผ่านมาคงได้ยินคำว่า Digital transformation กันมาจนคุ้นหู แต่รู้หรือไม่ บริษัทที่เปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริษัท digital มีโอกาสที่จะเอาตัวรอดและปรับปรุงประสิทธิภาพ
หลายปีที่ผ่านมาคงได้ยินคำว่า Digital transformation กันมาจนคุ้นหู แต่รู้หรือไม่ บริษัทที่เปลี่ยนตัวเองให้เป็นบริษัท digital มีโอกาสที่จะเอาตัวรอดและปรับปรุงประสิทธิภาพในส่วนของทุนบริษัทรวมถึงกระแสเงินสด ผ่านการใช้งาน Cloud computing
Cloud computing ไม่ได้เป็นแค่การใช้งาน Cloud หรือประโยชน์กับทีมซอฟต์แวร์หรือแผนก IT เท่านั้น แต่กลับส่งผลถึงทีมด้านการเงินที่สามารถเปลี่ยน CAPEX ให้กลายมาเป็น OPEX และในบางบริษัทสามารถทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสินทรัพย์ IT เปลี่ยนให้มาอยู่ในรูปแบบ COGS (Cost Of Goods Sold) แทนที่จะถูกคำนวณประสิทธิการลงทุนผ่าน ROI (Return Of Investment)
นอกจากการปรับโครงสร้างของต้นทุนแล้วการใช้งาน Cloud computing ยังเปิดโอกาสในการเพิ่มสภาพคล่องหรือกระแสเงินสดของบริษัทเอาไว้ได้โดยปราศจากการกู้ยืมเงิน เราสามารถใช้ NPV (Net Present Value) ในการเปรียบเทียบบริษัทที่กู้ยืมเงินมาใช้เป็นสภาพคล่องกับบริษัทที่ใช้งาน Cloud computing โดยปราศจากการกู้ยืมเงิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ผ่านวิธีประเมินมูลค่าบริษัทผ่านกระแสเงินสดเป็นหลัก
Cloud computing คือบริการให้เช่าทรัพยากรสารสนเทศ (IT resource) หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี (Infrastructure) ให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่างผู้ให้บริการเช่น AWS, GCP, Azure และ Huawei cloud
Cloud computing สำหรับบทความนี้เราให้ความหมายถึงผลิตภัณฑ์บริการตามความต้องการ (x as a service) ที่คิดเงินตามการใช้งานของเรา (pay as you go)B. Brief overview of NPV.
NPV คือหนึ่งในเครื่องมือวัดความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดในอนาคตของธุรกิจ ถ้าตัวเลข NPV เป็นบวกหมายถึงการลงทุนนั้น ๆ มีการลงทุนนั้นสามารถสร้างกระแสเงินสดได้มากกว่าเงินลงทุนในจำนวนปีที่เราต้องการ (3ปี, 5ปี) แต่ถ้าตัวเลขเป็นลบหมายถึงการลงทุนนั้นไม่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้มากกว่าเงินลงทุน
ในบทความนี้จะคำนวณ NPV โดยใช้ตัวแปรดังต่อไปนี้
เมื่อ
r = discount rate = 5%
t = จำนวนปี = 3
initial investment = $10,000
operating income = $10,000
borrow interest rate = 5%
loan amount = $10,000
loan repayment = $10,000 / 3 year
โดยทั่วไปแล้วบริษัทที่ย้ายตัวเองมายังธุรกิจ Digital ผ่านกระบวนการ Digital transformation แล้วนั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำคือการจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่แก่การดำเนินธุรกิจ
ทางเลือกสำหรับทรัพยากรสารสนเทศนั้นแบ่งออกเป็น 2 วิธีการได้มา ได้แก่
1.เป็นเจ้าของทรัพยากรนั้นเองโดยลงทุนใน On premise IT asset เรียกง่ายๆ ว่า ลงทุนซื้อ Server มาเอง
2.เช่าทรัพยากรนั้นผ่านผู้ให้บริการ Cloud computing เรียกง่าย ๆ ว่า เช่า Cloud
*ในที่นี้จะไม่รวมตัวแปรการสร้างห้องสำหรับ Server, ค่าบำรุงรักษา และค่าพนักงาน
ถ้าวิเคราะห์ดูแล้ววิธีการที่ 1 จำเป็นต้องลงบัญชีค่าใช้จ่ายให้อยู่ในส่วนของ CapEx เนื่องจากต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนเพื่อได้มาซึ่ง Server และบันทึกว่า Server นั้นถือเป็นสินทรัพย์ของบริษัท ซึ่งรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกๆ ปี คือค่าเสื่อม (Depreciation) ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ส่วนวิธีการที่ 2 สามารถลงรายจ่ายให้อยู่ในส่วนของ OpEx ได้ทั้งสองส่วน ถ้าลงรายจ่ายในอยู่ใน Fixed cost จะถือว่าเป็นค่าเช่ารายเดือน ซึ่งปกติแล้วจะใช้วิธีการลงเป็น Fixed cost เนื่องจากทำความเข้าใจได้ง่ายในส่วนของบัญชี แต่แท้จริงแล้วสามารถลงรายจ่ายค่าเช่า Cloud ให้อยู่ในรูปของ Variable cost เมื่อเราเทียบค่าเช่า Cloud กับรายได้ที่หน่วยธุรกิจนั้นสามารถทำได้
สำหรับธุรกิจที่มีประสบการณ์ในการจัดการโครงสร้างต้นทุนบนพื้นฐานของ Cloud computing สามารถยกระดับ Variable cost ของ Cloud ให้เข้าไปอยู่ในส่วนของ COGS เนื่องจากเราสามารถมองได้ว่าการใช้งาน Cloud ทุกครั้งของลูกค้า ทำให้เกิดรายได้ต่อรายจ่าย Cloud โดยอาศัยโมเดลการคิดเงินตามการใช้งาน (Pay as you go)
เราสามารถอนุมานได้ว่า การใช้งาน Cloud ทุกครั้งมีโอกาสสร้างรายได้ให้แก่บริษัท
ผลกระทบต่อกระแสเงินสดเมื่อเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่ซื้อ server (บริษัท On prem) และบริษัทที่เช่า Cloud (บริษัท On cloud)
เราจะเห็นได้ว่าเงินลงทุนในครั้งแรกบริษัท On prem จำเป็นต้องจ่ายเงินมากกว่าบริษัท On cloud ถ้าบริษัท On prem อยากได้กระแสเงินสดเทียบเท่าบริษัท On cloud จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวนำไปกู้ยืมเงินเพื่อมาเป็นกระแสเงินสดอีกครั้ง ทำให้กระแสเงินสดดังกล่าวมีต้นทุนในการกู้ยืม (Borrowing Costs) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ตามงานวิจัยแล้วบริษัท On prem จะเกิด Break even point ค่า Server เทียบกับเช่า Cloud ที่ 3 ปี
ซึ่งถ้าเรามองโดยใช้ Productivity ของบริษัททั้งสอง เราจะพบว่า Productivity ของบริษัททั้งสองมีค่าเท่ากัน แต่สภาพคล่องของบริษัท On cloud จะมีมากกว่าบริษัท On prem เมื่อบริษัท On prem ไม่สามารถกู้ยืมเงินได้เต็มจำนวน และเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของ Debt to asset ที่บริษัท On cloud มีอัตราส่วนที่น้อยกว่าบริษัท On prem
เราสามารถเปรียบเทียบ NPV ระหว่างบริษัท On prem และบริษัท On cloud โดยใช้กระแสเงินสดในแต่ละปีได้ดังนี้
ในปีที่ 1 บริษัท On prem มีงบดุลบัญชีอยู่ที่ $20,000 โดยคำนวณจากเงินสด, สินทรัพย์ และหนี้ที่มีอยู่ ส่วนบริษัท On cloud มีงบดุลอยู่ที่ $10,000 โดยบริษัท On prem กู้ยืมเงินในส่วนของ Long term loan 3 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ 5%
เมื่อสิ้นปีที่ 1 บริษัท On prem ต้องชำระหนี้และดอกเบี้ยส่วนบริษัท On cloud ต้องจ่ายค่าเช่า Cloud ซึ่งทั้งสองบริษัทต้องจ่ายเงินที่ $3,833 และ 3,333 ตามลำดับ และทั้งสองบริษัทเกิด Operating income ที่ $10,000 ทำให้ Free cash flow ในสิ้นปีที่ 1 คงเหลือที่ $6,166 และ $6,349 ตามลำดับ
ถ้าเราพิจารณาแบบนี้จนครบถ้วน 3 ปีแล้ว และนำไปคำนวณ NPV ของบริษัท On prem และ On cloud ดังต่อไปนี้
คำนวณอัตราส่วนของ NPV(On prem) เทียบกับ NPV (On cloud) จะได้ค่าออกมาดังนี้
เมื่อสังเกตอัตราส่วนระหว่าง NPV(On prem) เทียบกับ NPV(On cloud) แล้ว เราจะเห็นถึงประสิทธิภาพการสร้างกระแสเงินสดเมื่อใช้งาน Cloud computing โดยอัตราส่วนมากถึง 2.51 เท่า
ทั้งนี้การที่บริษัทเพิ่มในสัดส่วนของหนี้จะส่งผลให้การกระจายความเสี่ยงด้านแหล่งที่มาของเงินทุนดีขึ้นและยังส่งผลให้ WACC (Weight average cost of capital) ลดลง ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และนโยบายของผู้บริหารที่ต้องการบริหารจำนวนหนี้ที่จะก่อขึ้น
ความท้าทายที่สำคัญคือความเข้าใจในการคิดเงินของผู้ให้บริการ Cloud ซึ่งทั่วไปแล้วบริษัทมักจะมอบหน้าที่ดังกล่าวให้แก่ทีม Software ในการทำตัวเลขเพื่อเสนอเรื่องอนุมัติรายจ่าย ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ที่ทีม Software จะนำเสนอโอกาสเปลี่ยน CapEx ให้กลายเป็น OpEx หรือโอกาสในการเพิ่มกระแสเงินสดของบริษัท
เนื่องจากอยู่นอกเหนือขอบเขตรับผิดชอบและอยู่นอกเหนือขอบเขตความเข้าใจของอาชีพ ดังนั้นกระบวนการสำคัญคือการร่วมมือกันระหว่างทีม Financial และทีม Software
ในบริบทของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ทั้งหลายที่มีประสบการณ์การบูรณาการณ์การใช้งาน Cloud computing ได้ร่วมกันสร้าง Principle สำหรับการสร้างวัฒนธรรมการใช้งาน Cloud computing ร่วมกันโดยเรียกว่า FinOps (cloud Financial Operation) โดยมีผู้สนับสนุนหลักได้แก่ Linux foundation
ข้อกังวลคือในบางกลุ่มประเภทธุรกิจที่มีข้อปฏิบัติจากผู้ออกระเบียบซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้งาน Cloud computing และมาตรฐานความปลอดภัยของ Cloud computing ซึ่งโอกาสในปัจจุบันผู้ให้บริการ Cloud computing ได้เริ่มย้าย Data center รวมถึงบริการเข้ามาไว้ในประเทศไทย ทำให้ข้อจำกัดบางข้อนั้นถูกแก้ไขโดยผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว
โอกาสที่ผู้ให้บริการ Cloud computing นำเสนอนั้นเกิดจากการที่ Price model ของบริการ Cloud computing นั้นไม่ได้คิดค่าบริการเพียงรูปแบบเดียว ยังมี Price model เพิ่มเติมอย่างเช่น Commit Usage Discount, Saving plan และ Pay per request or pay per compute โดยส่วนลดที่ลดลงไปได้ถึง 15 – 75% และสิ่งที่ช่วยให้การใช้งาน Cloud computing สะท้อนต้นทุนต่อหน่วยคือการที่ Cloud computing นั้นสามารถใช้งาน Auto scaling (in and out) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการแล้ว Auto scaling จะใช้ Cloud computing สูงขึ้นเมื่อเกิดการใช้งานของผู้ใช้งานมากขึ้นและลด Cloud computing ลงเมื่อผู้ใช้งานน้อยลง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้ใช้งานเท่านั้น
โดยสรุปแล้วการที่บริษัทมีทางเลือกในการบริหารโครงสร้างต้นทุนผ่านการใช้งาน Cloud computing ช่วยเพื่อโอกาสในการสร้างกำไรรวมถึงโอกาสในการเพิ่มกระแสเงินสด ซึ่งตามกรณีศึกษาตัวอย่างเราสามารถมองเห็นความเป็นไปได้เบื้องต้นที่จะสร้างกระแสเงินสดได้มากถึง 2.51 เท่า และยังมีโอกาสสำหรับการปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน Cloud computing ส่งผลให้สามารถลดรายจ่ายลงไปได้สูงถึง 75%
สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นหลังจากกระบวนการ Digital transformation และบริษัทเริ่มมีประสบการณ์ในการใช้งาน Cloud computing คือการบูรณาการณ์ร่วมกันของทีม Software, ทีม Financial และทีม Product ที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการ FinOps (cloud Financial Operation) กระบวนการดังกล่าวจะมุ่งเน้นในการใช้งาน Cloud computing อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุดผ่านตัวชี้วัด Cloud unit economics
และสุดท้ายนี้บริษัทเองต้องปรับลักษณะผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้เหมาะสมกับการใช้งาน Cloud computing ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นเข้าใจถึงกระบวนการ Digital transformation หรืออาจจะเริ่มต้นจากบางหน่วยธุรกิจให้เข้าใจถึงการดำเนินงานแบบ Agile เพื่อที่จะทำให้เข้าใจภาพส่วนหนึ่งของการปรับตัวเองเข้าสู่ยุค Digital